โรคนอนไม่หลับ คืออาการนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับไม่สนิท เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด ถึง ประมาณ 1ใน 3 ของ ประชากรที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ โดยจะพบใน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ยิ่งถ้าอายุมากขึ้นจะยิ่งพบปัญหานี้บ่อยขึ้น
สาเหตุของการนอนไม่หลับ
อาจเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆเหล่านี้คือ
สาเหตุทางร่างกาย เช่น
- ความเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น เป็นโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน โรคมะเร็ง หรือมีความผิดปกติของการหายใจขณะนอนหลับ การนอนกรน ซึ่งจะทำให้นอนหลับได้ไม่สนิท ตื่นกลางดึก แล้วไม่สามารถหลับได้อีก
- หลายคนที่มีอาการนอนกรน พอตื่นขึ้นมาจะมีอาการเจ็บคอ ระคายคอ เนื่องจาากการหายใจทางปาก
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายโดย ร่างกายจะผลิตสารเซโรโทนิน ที่เป็นฮอร์โมน ช่วยในการนอนหลับลดลง ร่างกายต้องการการพักผ่อนน้อยลง
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย เช่นหญิงตั้งครรภ์อาจจะพบปัญหาการนอนไม่หลับได้เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป
สาเหตุทางจิตใจ เช่น
- เกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ดีใจ ตื่นเต้น ซึมเศร้า ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในร่างกาย ทำให้การนอนหลับไม่เป็นไปตามปกติ
สาเหตุจากปัจจัยภายนอก เช่น
- เสียง แสงสว่าง กลิ่นต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดรบกวนการนอนหลับ
- ยาที่ใช้รักษาโรคบางชนิด เช่นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยาต้านการซึมเศร้า ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทเซโรโทนินที่ควบคุมประสาทการรับรู้ การตอบสนองต่อสิ่งเร้า กระตุ้นระบบประสาทให้ตื่นตัว และอาจทำให้นอนไม่หลับได้
- พฤติกรรมส่วนตัวในการดำรงชีวิตของแต่ละคน เช่นการนอนผิดเวลา เปลี่ยนที่นอนบ่อยแล้วไม่คุ้นเคย การทำงานเป็นกะ การรับประทานอาหารก่อนนอนมากเกินไป การใช้สารเสพติด
อาการของโรคนอนไม่หลับ
มีอาการสำคัญดังต่อไปนี้
- หลับยากใช้เวลานานกว่าจะนอนหลับได้
- มีอาการกระสับกระส่าย ตื่นสาย
- มีอาการหลับหลับตื่นๆ เมื่อตื่นกลางดึกแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
- วันต่อมา จะรู้สึกไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า ไม่ค่อยมีแรง อ่อนเพลีย ง่วงในตอนกลางวัน
- ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน ทำงานผิดพลาด
- เจ็บคอ ระคายคอตอนเช้า
วิธีการรักษาอาการนอนไม่หลับ
รักษาด้วยตนเอง
- เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา เป็นประจำ
- หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน
- นอนหลับให้เพียงพอตามความต้องการของแต่ละคน แต่ละวัย
- ทำบรรยากาศให้น่านอน เช่น ที่นอนควรนุ่มสบายพอดี ถูกสุขลักษณะ อุณหภูมิเหมาะสมพอดี
- ลดความเครียด ความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่านลง ผ่อนคลายก่อนเข้านอน
- ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมเช่นชา กาแฟ ตอนก่อนจะเข้านอน อาจเปลี่ยนเป็น นมอุ่นๆ สักแก้วจะดีกว่า
- หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน
- ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่หรือสารเสพติดทุกชนิด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบหมู่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- กรณีเจ็บคอ หรือระคายคอ อาจใช้สเปรย์พ่นคอเพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
- ฝึกสมาธิ ฝึกการใช้กล้ามเนื้อ ผ่อนคลาย กำหนดหายลมหายใจเข้าออก กำหนดจิตตนเอง
- มองโลกในแง่บวก ใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่เครียดจนเกินไป พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งต่าง ๆ ปล่อยวางในสิ่งที่ไม่จำเป็น และไม่เกิดประโยชน์ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นนอนหลับได้ง่ายและสนิทขึ้น
พบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและคำแนะนำ
- ให้คำแนะนำเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวคิดต่าง ๆซึ่งจะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
- ให้ยาเพื่อช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น เช่นยาในกลุ่มเมลาโทนิน ยาต้านซึมเศร้า รวมทั้งอาจจะให้ยานอนหลับเพื่อทำให้สามารถนอนหลับได้นานขึ้น
- ใช้วิธีการดนตรีบำบัด วารีบำบัด
ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการนอนไม่หลับ
- ร่างกายอ่อนล้าในตอนกลางวัน
- ไม่สดชื่น
- ความจำมีปัญหา
- การตัดสินใจต่าง ๆไม่เฉียบคม อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุต่าง ๆขึ้นได้
- การเผาผลาญพลังงานในร่างกายผิดปกติ อาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆเช่นโรคเบาหวานโรคความดัน โรคหัวใจ
- เกิดภาวะวิตก กังวล ซึมเศร้า
จะเห็นได้ว่าอาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นนั้นความจริงแล้วมีสาเหตุมากมายหลายประการ การแก้ไขนั้นคงต้องแก้ไขที่สาเหตุ หากเป็นสาเหตุทางกาย ให้กำจัดสาเหตุนั้นเสีย หากเป็นสาเหตุทางด้านจิตใจ ควรต้องฝึกจิตและทำใจให้สบายรู้ จักปล่อยวาง แต่ถ้าเป็นสาเหตุทางสิ่งแวดล้อม คงต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับตัวเรา ซึ่งจะทำให้เรานอนหลับได้ดีขึ้น
สินค้าที่เกี่ยวข้อง สเปรย์พ่นคอ แก้เจ็บคอ
ที่มา